
ยิ่งใกล้วาระการตัดสินใจของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ Fed หรือ FOMC ที่จะมีการประชุมในระหว่างวันที่ 19-20 มีนาคมนี้ (ตามเวลาสหรัฐฯ) ค่าเงินก็ยิ่งผันผวนโดยเฉพาะค่าเงินดอลลาร์
เนื่องจาก ตลาดแรงงานของสหรัฐฯ แข็งแกร่ง แต่ตัวเลขค่าจ้างงานรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน เพิ่มขึ้นเพียง 0.15% จากที่ก่อนหน้านี้คาดการณ์ไว้ที่ 0.2%
สำหรับสาเหตุที่เฟดควรปรับขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ ด้านนายเอริค โรเซนเกรน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาบอสตัน มองว่าการปรับลดภาษี และการใช้จ่ายของรัฐบาลสหรัฐ รวมทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จะเป็นปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐต่อไป

หากมองที่ภาพด้านบนนี้
เส้นสีฟ้า คือ Fed Funds Rates
เส้นสีขาว คือ U.S. Inflation ที่วัดจากค่า CPI (ดัชนีราคาผู้บริโค)
ก็จะเห็นได้ว่า เงินเฟ้อได้แซงหน้า อัตราดอกเบี้ยไปแล้ว … หลายคนาจจะเกิดคำถามว่า เฟด ดู PCE หรือดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (Personal Consumption Expenditures) มากกว่า ไม่ใช่หรอ ? เมื่อลองค้นขอมูลดู ก็พบว่า ไม่ว่าจะดู CPI หรือ PCE ทั้งคู่ก็ฟื้นตัวขึ้นมาอย่างชัดเจน
และถ้ามองให้ลึกลงไป จะเห็นตัว PCE ฟื้นตัวมากในกลุ่ม Service
อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์สหรัฐฯเคลื่อนไหวในทิศทางที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินส่วนใหญ่ จากการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เดินหน้ามาตรการกีดกันการค้าต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศคู่ค้าขนาดใหญ่หลายประเทศก็เตรียมมาตรการตอบโต้สหรัฐฯเช่นกัน ซึ่งทำให้มีแนวโน้มสูงที่สหรัฐฯจะขาดดุลการค้ามากขึ้น
สำหรับการประชุมรอบนี้นักลงทุนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมวันที่ 20-21 มีนาคมนี้ และมีแนวโน้มจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 4 ครั้งในปีนี้ แต่ความกังวลว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการถือดอลลาร์สหรัฐฯลดลง
นี่ยังไม่ได้คำนึงถึงประเด็นหนี้ของสหรัฐเอง ที่เป็นระเบิดเวลา รอคอยการปะทุขึ้น ไว้บทความหน้า แอดมินจะขุดข้อมูลมาให้ดู ว่าสหรัฐ สร้างหนี้ไว้กับใครอย่างไร ถ้าเศรษฐกิจเมกาพัง ใครจะล้มตามเป็นโดมิโน่
แล้วเจอกันในเพจเร็ว ๆ นี้
แหล่งอ้างอิง ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย และ Yardeni Research, Inc.