วาระของป้าเยลเลน ผ่านไป วาระของประธานเฟดคนใหม่ก็จะเข้ามาแทน ศึกสายเหยี่ยวและสาบพิราบ จึงเกิดขึ้น
ฝั่งสายพิราบ หรือสายที่สนันสนุนนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (Dovish) คือ พวกที่เป็นเสียงข้างมากในปี 2017 กลุ่มนี้เน้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่อยากให้ขึ้นดอกเบี้ยไวนัก
แต่อีกฝั่ง สายเหยี่ยวหรือกลุ่มที่สนับสนุนการคุมเข้มนโยบายการเงิน (Hawkish) คือ อยากให้ขึ้นดอกเบี้ย เป็นกลุ่มที่ Aggressive นิด ๆ ก็เริ่มก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจมากขึ้น
ปกติแล้วคณะกรรมการเฟด มีสิทธิลงคะแนนไม่เกิน 12 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน

ส่วนที่ 1 คือ คณะผู้ว่าการเฟด (Board Governors) ของ Fed
มีจำนวน 7 คน โดยรายชื่อ Board Governors ในปัจจุบัน ได้แก่
Mr. Jerome Powell ประธานเฟด,
Lael Brainard, Randal Quarles และ
Marvin Goodfriend ผู้ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้เสนอให้เป็นกรรมการเฟดคนใหม่และอยู่ในกระบวนการของการรับรองอย่างเป็นทางการ ขณะที่ตำแหน่งผู้ว่าการเฟดอีก 3 ตำแหน่งยังคงว่างและประธานาธิบดีทรัมป์สามารถแต่งตั้งกรรมการเฟดคนใหม่เข้ามาดำรงตำแหน่งที่เหลืออยู่

ส่วนที่ 2 คือ ประธาน Fed สาขาต่างๆ จำนวน 5 คนซึ่งสลับสับเปลี่ยนกันไปตามกลุ่ม โดยมีประธานเฟด สาขา New York เป็นผู้ได้รับสิทธิถาวรในการโหวต ส่วนอีก 4 คนจะมาจาก ประธาน Fed สาขาต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็น 4 กลุ่ม หมุนเวียนกันไป ดังนี้
กลุ่มที่ 1 New York ได้รับสิทธิในการโหวตทุกปี ได้แก่ William Dudley
กลุ่มที่ 2 Chicago/Cleveland ปีนี้ได้แก่ Loretta Mester ประธานเฟดสาขา Cleveland
กลุ่มที่ 3 Philadelphia/Richmond/Boston ปีนี้ได้แก่ Thomas Barkin ประธานเฟดสาขา Richmond
กลุ่มที่ 4 Dallas/Atlanta/St. Louis ปีนี้ได้แก่ Raphael Bostic ประธานเฟดสาขา Atlanta
กลุ่มที่ 5 Minneapolis/San Francisco/Kansas City ปีนี้ได้แก่ John Williams ประธานเฟดสาขา San Francisco
แต่ถ้าให้วิเคราะห์แล้ว คนที่น่าติดตามมากที่สุดในที่นี้ รองจากประธานเฟดคนปัจจุบัน คือ คุณ William Dudley ประธานเฟด สาขานิวยอร์ค เพราะว่าเขาสนิทกับทั้ง Ben Bernanke และ Janet Yellen และเขามักจะเป็นคนที่ให้มุมมองอะไรบางอย่างก่อนการประชุมอยู่บ่อย ๆ

อะไร คือ สัญญาณที่บอกว่า เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย ??
- การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ
- การใช้นโยบายการคลังของทรัมป์ ที่นำอเมริกาเข้าสู่ ภาวะหนี้ครั้งใหญ่ ทั้งการอัดฉีดงบ และการลดภาษี
หากนโยบายการเงินก็อัดฉีด แล้วนโยบายการคลังก็อัดฉีด เกรงว่าเศรษฐกิจสหรัฐ จะเจอภาวะเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นเกินเป้าหมายที่เฟดวางไว้ ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว มันไม่ดีแน่ ๆ โดยเฉพาะถ้าเงินเฟ้อโตเร็ว จนแซงการเติบโตของอัตราค่าจ้าง ฉะนั้น อาจจะเป็นสิ่งที่ถือว่าไม่ผิดคาดนัก ถ้าเฟด จะขึ้นดอกเบี้ย เพื่อลดความร้อนแรงของเงินเฟ้อ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะเดินหน้าปรับดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2561และถ้าปรับขึ้นจริง อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐก็จะสูงกว่าไทย (ณ ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายเท่ากันที่ 1.50%) และนั่นจะทำให้ค่าเงินบาทของไทยผันผวนขึ้น คือ เงินบาทอาจจะอ่อนค่าลง แล้วเงินอาจจะไหลกลับเข้าไปที่สหรัฐต่อ
เครดิตข้อมูลโครงสร้างเฟดจากคอลัมน์จากครบเครื่องเรื่องทองกับ YLG: จุดยืนเฟดอาจเปลี่ยนไปหลังเปลี่ยนโฉมกรรมการผู้มีสิทธิโหวต – ฐานเศรษฐกิจ (Th)